เกิดการบริโภค สะท้อนได้จากรายได้ของธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ทุกๆ 100 บาท จะมีค่าใช้จ่ายในการขายและบริการ (รวมค่าโฆษณาหรือทำการตลาด) ราว 20 บาท (ค่าเฉลี่ยปี 2561-2564) สูงกว่าธุรกิจอาหารที่ที่มีค่าใช้จ่ายดังกล่าว ราว 12 บาท ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการทำการตลาดหรือโฆษณากับกลุ่มสินค้าเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ค่อนข้างมีผลต่อการช่วยกระตุ้นยอดขายได้
อย่างไรก็ดี แม้ว่าตลาดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ในภาพรวมจะยังเติบโต แต่ด้วยผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มในท้องตลาดมีหลากหลาย Segment ท่ามกลางผู้เล่นที่อยู่ในตลาดจำนวนมาก ทั้งในและนอกอุตสาหกรรมอาหารเครื่องดื่ม เช่น ธุรกิจสุขภาพ ผู้นำเข้าสินค้าเครื่องดื่มจากต่างประเทศมาจำหน่ายในไทย ทั้งที่ผ่านช่องทางค้าปลีกหน้าร้าน หรือออนไลน์ และอยู่ในรูปแบบของผง หรือซองที่มีน้ำหนักเบา ขณะที่ การบริโภคของผู้บริโภคยังคงได้รับแรงกดดันจากกำลังซื้อที่เปราะบาง และค่าครองชีพสูง ส่งผลให้คาดว่าการบริโภคอาจไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก
ดังนั้น การจะเพิ่มความถี่ในการบริโภค ทั้งในแง่ของจำนวนครั้ง หรือมูลค่าในการซื้อ อาจจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ช่วงเวลาของการทำการตลาดที่เหมาะสม และตรงกลุ่มเป้าหมาย การสร้างการรับรู้ทั้งในเรื่องของสารอาหาร แพคเกจจิ้ง หรือกระบวนการผลิตที่ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
โดย รัชดา คงขุนเทียน/กษมาพร กิตติสัมพันธ์
ตลาดเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ปีนี้โตชะลอ แข่งขันรุนแรง-พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนเร็ว https://www.ryt9.com/s/iq03/3409587